วิสัยทัศน์/พันธกิจ

“ประดู่รวมเป็นหนึ่ง ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลวัดประดู่
1. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานและเชื่อมโยง
- พัฒนาด้านการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ฯลฯ
- การจัดวางระบบผังเมือง และระบบจราจร
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
2. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการะบวนการเรียนรู้ การประยุกกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตร พัฒนากลุ่มอาชีพ การลงทุน การพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการลงทุนในด้านอตสาหกรรม และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
3. ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา กีฬา ศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น
- ส่งเสริม/พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา/ช่วยเหลือการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในเขตพื้นที่ของเทศบาล
- การส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
- ทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านศาสนา
- อนุรักษ์ ส่งเสริมศิลแวัฒนธรรม จารีตประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ให้การดูแลด้านสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ใช้แรงงาน และผู้ที่อยู่ในข่ายที่สมควรได้รับการคุ้มครองและการพัฒนา
- สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่เยาวชน/ประชาชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
- การจัดระเบียบชุมชน/สัมคม
- มาตรการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
- มีระบบการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
- ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัย ดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง
- ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- ดูแลและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน
- ส่งเสริมการศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี
- พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางแห่งระบอบประชาธิปไตย
- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร และโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย
- พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ
- สร้างคงามสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชน
เป้าประสงค์
- เพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง
- ประชาชนมีจิตสำนึกและสืบสานศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม
- ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้พอเพียง มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สามารถนำแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแล
- ยกระดับคุณภาพการศึกษา การกีฒาและนันทนาการ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งเรง
- ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
- ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
- การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
- ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นคนดีของสังคม
ตัวชี้วัด
- จำนวนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น
- รายได้เฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
- ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และรักษาไว้มากขึ้น
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมด้านกีฒาและนันทนาการมากขึ้น
- ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขอนามัยอย่างทั่วถึงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
- ประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการประชาชนเพิ่มมากขึ้น
ค่าเป้าหมาย
- การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
- ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
- ประชาชนมีความรู้เและบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
- ประชาชนมีการศึกาาที่สูงขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขั้น
- ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขอนามัยอย่างทั่วถึง
- การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
กลยุทธ์
- ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง
- พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
- พัฒนา ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่ายและเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มช่องทางตลาดและส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา ครู นักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน
- ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ให้มีสุขภาพแข็งแรง
- ส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
- พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่นโดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
- อนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
- ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานนำระบบสารสนเทศมาใช้ในกาบริหารงานภายในองค์กร สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรมการทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิยัติราชการ
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
- การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
- การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
- ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่่งตนเอง
- การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
- การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน