อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ภาษา
ปรับขนาดตัวอักษร
ข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของตำบลวัดประดู่
เทศบาลตำบลวัดประดู่ ตั้งอยู่เลขที่ 150 ถนนสุราษฎร์-กองบิน (420) หมู่ที่ 1 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศทั่วไป เทศบาลตำบลวัดประดู่ มีสภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง เกือบทุกหมู่บ้าน พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูง มีเนินสูงและภูเขาดินขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
อุณหภูมิ ตำบลวัดประดู่ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 29 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นมีความชื้นปานกลาง คือ มีความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ย 85% และความชื้นต่ำสุดประมาณ 57 % ฤดูกาล แบ่งฤดูกาลออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม และฝนตกมากระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
1.4 ลักษณะของดิน
เป็นดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินพอสมควร

2. ด้านการเมือง /การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลวัดประดู่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน มี 26 ชุมชน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีแม่น้ำตาปีเป็นเส้นกำหนดเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยมีลำห้วยรัตนโกสัยเป็นเส้นกำหนดเขต และพื้นที่ของเทศบาลตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคลองเรือเป็นเส้นกำหนดเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีลำคลองท่ากูบเป็นเส้นกำหนดเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน และเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
      ตำบลวัดประดู่ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไปทางทิศตะวันตก ถนนสุราษฎร์-พุนพิน ประมาณ 6 กิโลเมตร ในอดีตบ้านวัดประดู่เป็นชุมชนเล็กๆ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับวัดหัวท่า หรือวัดประดู่ มีชื่อตามชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ คือ “ ประดู่ ” ซึ่งขึ้นอยู่บริเวณวัดประดู่ หรือวัดสุนทรนิวาสในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2457 ทางราชการได้จัดตั้ง จังหวัด อำเภอ และตำบล ดังนั้น บ้านวัดประดู่ จึงได้รับการยกฐานะเป็นตำบลวัดประดู่ ซึ่งทางราชการได้แต่งตั้งกำนัน เป็นผู้บริหารราชการตำบล ตามลำดับ ดังนี้
1. ขุนเดช วัดประดู่ (เนียม ทวิชสังข์) พ.ศ. 2457 คนแรก
2. นายจ้วน เพชรศักดา
3. นายนิพัทธิ์ สรการ (สั้ว)
4. นายนิพนธ์ สรการ
5. นายพิมล ทวิชสังข์ (พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน)
     ต่อมา เมื่อทางราชการได้มีนโยบายกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ตำบลวัดประดู่ จึงได้รับการยกฐานะเป็น สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 โดยมีนายนิพนธ์ สรการ เป็นประธานสภาตำบลคนแรก และมีนายสุชาญ ทวิชสังข์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นลำดับถัดมา และเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลวัดประดู่ โดยมีนายสุชาญ ทวิชสังข์ เป็นนายกเทศมนตรีตำบลวัดประดู่ เป็นคนแรก โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ตามกระบวนการประชาธิปไตย ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2547
วิสัยทัศน์

“ประดู่รวมเป็นหนึ่ง ก้าวสู่การพัฒนาที่ยังยืน”

พันธกิจ

พัฒนาคุณภาพชีวิตชาววัดประดู่
1 มีการดำเนินการแยกเขตเศรษฐกิจ เขตธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม ออกจากพื้นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมอย่างชัดเจน
2 จัดระเบียบชุมชน/สังคม สร้างมาตรการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3 จัดให้มีการบริหารจัดการองค์กรและบริการประชาชนที่ดี

เป้าประสงค์

1 โครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค และการผังเมือง
2 ราษฎรได้รับการพัฒนาอาชีพ มีความรู้ความสามารถในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง มีความพร้อมในการลงทุน
3 การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในเขตเทศบาลมีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน
4 เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีทางสังคม
5 ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี
6 เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้วยโอกาส ได้รับการดูแลและได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
7 ได้มีการทำนุบำรุงด้านการศาสนา การพัฒนาด้านจิตใจ การปลูกฝั่งคุณธรรม จริยธรรม แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย
8 ชุมชน/สังคม เป็นระเบียบเรียบร้อย ราษฎรมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
9 ภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกลักษณ์ วัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงาม ได้รับการส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป
10 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
11 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรมีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน