ประกาศเทศบาลตำบลวัดประดู่
เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Polocy)
............................
ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เทศบาลตำบลวัดประดู่ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ เป็นนิติบุคคล ที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการงานบริการประชาชนของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เกิดผลเสียหายกับทางราชการ รวมทั้งความรับผิดชอบและบทลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ เทศบาลตำบลวัดประดู่ มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามแนวทางหรือมาตรฐานตามกฎหมาย มีความถูกต้อง จึงอาศัยตามความในมาตรา ๔๘ เตรส (๑) (๖) และมาตร ๕๐ (๙) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ เทศบาลตำบลวัดประดู่จึงขอประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ที่ติดต่อเข้ายังเว็บไซต์เทศบาลตำบลวัดประดู่ ดังนี้
๑. บทนำ
เทศบาลตำบลวัดประดู่ ต่อไปในนโยบายนี้เรียกว่า “เทศบาล” ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลอื่นอันเกี่ยวกับท่าน (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) เพื่อให้ท่านสามารถเชื่อมั่นได้ว่าเทศบาลมีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) นี้จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงแก่ท่านถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (รวมเรียกว่า “ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการโดยเทศบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ดำเนินการแทนหรือในนามของเทศบาล โดยมีเนื้อหา สาระ ดังต่อไปนี้
๒. ขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย
นโยบายนี้ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับเทศบาลในปัจจุบันและที่อาจ มีในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยเทศบาล เจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา หน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานรูปแบบอื่นที่ดำเนินการโดยเทศบาล และรวมถึงคู่สัญญาหรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของเทศบาล (“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) ภายใต้ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบ แอปพลิเคชัน เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดยเทศบาล (รวมเรียกว่า “บริการ”)
บุคคลมีความสัมพันธ์กับเทศบาลตามความในวรรคแรก รวมถึง
(๑) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติงาน
(๒) คณะกรรมการ เช่น คณะต่าง ๆ เทศบาลแต่งตั้งขึ้น เป็นต้น
(๓) ผู้สมัครสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ พนักงานจ้างต่างๆ
(๔) ผู้ใช้บริการของเทศบาล
(๕) ผู้เข้าชมหรือใช้งานเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล
(๖) บุคคลอื่นที่เทศบาลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ครอบครัวของข้าราชการ หรือ
เจ้าหน้าที่ เป็นต้น
๓. คำนิยาม
- เทศบาล หมายถึง เทศบาลตำบลวัดประดู่
- ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่า ทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
- ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
- การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง การดำเนินการใดๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บ รวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาลเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือ นิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
๔. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาลเก็บรวบรวม
เทศบาล เก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
๑) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาลเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดยเทศบาลหรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสาร กับเทศบาล ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดยเทศบาล เป็นต้น
๒) ข้อมูลที่เทศบาล เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ของ เทศบาล ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
๓) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาล เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่เทศบาล เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐใน การให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคล จาก หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่เทศบาลมีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัลรวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้
นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ข้อมูลของบุคคลภายนอก แก่เทศบาล ดังนี้ ผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่เทศบาล
ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของ เทศบาลอาจเป็นผลให้เทศบาลไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
๕. ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
เทศบาล พิจารณากำหนดฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามความเหมาะสม และตามบริบทของการให้บริการ ทั้งนี้ ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาลใช้ ประกอบด้วย
ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล |
รายละเอียด |
เพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือการใช้อำนาจรัฐที่เทศบาลได้รับ |
เพื่อให้เทศบาลสามารถใช้อ านาจรัฐและด าเนินภารกิจเพื่อ ประโยชน์สาธารณะตามพันธกิจเทศบาล ซึ่งก าหนดไว้ตาม กฎหมาย เช่น - พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม รวมถึง กฎ ระเบียบ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ เกี่ยวข้อง เป็นต้น |
เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย |
เพื่อให้เทศบาลสามารถปฏิบัติตามที่กฎหมายที่ควบคุม เทศบาล เช่น - พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 - พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 - พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 - กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร รวมถึง การด าเนินการตามค าสั่งศาล เป็นต้น |
เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย |
เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของเทศบาลและของ บุคคลอื่น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วน บุคคล เช่น เพื่อการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของ เทศบาลหรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการ ภายในของเทศบาล เป็นต้น |
ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล |
รายละเอียด |
เป็นการจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือ ระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ สุขภาพของบุคคล |
เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ ของบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เป็นต้น |
เพื่อการปฏิบัติตามสัญญา |
เพื่อให้เทศบาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือ ดำเนินการอันเป็นความจำเป็นต่อการเข้าทำสัญญาซึ่งผู้ให้ ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญากับเทศบาล เช่น การจ้างงาน จ้างทำของ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือสัญญาใน รูปแบบอื่น เป็นต้น |
เพื่อการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติที่สำคัญ |
เพื่อให้เทศบาลสามารถจัดทำหรือสนับสนุนการจัดทำเอกสาร ประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติตามที่เทศบาล อาจได้รับมอบหมาย เช่น การจัดทำทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ หรือคณะกรรมการ การจัดทำสถิติการใช้บริการ ดิจิทัลภาครัฐ งานติดตามการดำเนินนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น |
ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล |
เพื่อการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่ เทศบาลจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วน บุคคล โดยได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการขอความยินยอมแล้ว เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวด้วย วัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา 24 หรือ 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือการนำเสนอ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการของ คู่สัญญาหรือพันธมิตรทางธุรกิจแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น |
ในกรณีที่เทศบาลมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการ ปฏิบัติตามสัญญา การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือเพื่อความจำเป็นในการเข้าทำสัญญา หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือ คัดค้านการดำเนินการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม อาจมีผลทำให้เทศบาลไม่สามารถดำเนินการหรือให้บริการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
๖. ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เทศบาลเก็บรวบรวม
เทศบาลอาจเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือบริบทความสัมพันธ์ที่เจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลมีกับเทศบาล รวมถึงข้อพิจารณาอื่นที่มีผลกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยประเภทของ ข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเทศบาล เป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้น
ที่จะมีผลบังคับใช้
ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล |
รายละเอียดและตัวอย่าง |
ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล |
ข้อมูลระบุชื่อเรียกของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลจากเอกสาร ราชการที่ระบุข้อมูลเฉพาะตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง ชื่อเล่น ลายมือชื่อ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ เลขที่ใบขับขี่ เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขใบอนุญาต การประกอบวิชาชีพ (สำหรับแต่ละอาชีพ) หมายเลขประจำตัว ผู้ประกันตน หมายเลขประกันสังคม เป็ |